พช.บุรีรัมย์ จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี พัฒนาพื้นที่ครอบครัวต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ที่ ต. เมืองโพธิ์ อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์

พช.บุรีรัมย์ จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี พัฒนาพื้นที่ครอบครัวต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ที่ ต. เมืองโพธิ์ อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์

 วันนี้ (14 ก.ค. 64)  เวลา 08.30 น. นายเดโช  วันทนาพิทักษ์ พัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วย นายเทิดพันธ์  ครอบทอง นายอำเภอห้วยราช ส่วนราชการระดับอำเภอ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ตำบลเมืองโพธิ์ อำเภอห้วยราช กว่า 40 คน ร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ณ แปลงนายทองยศ  ทะยานรัมย์ หมู่ที่ 8 ต. เมืองโพธิ์ อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ การเอามื้อสามัคคี เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน ผ่านกิจกรรมการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน ในโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ที่แสดงให้เห็นถึงการร่วมแรงร่วมใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเดิมที่พบในทุกพื้นที่ เป็นกระบวนการทำงาน การใช้กิจกรรมเอามื้อสามัคคีมาขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในแต่ละแปลง จึงเป็นการรื้อฟื้นเอาวิถีชีวิตดั้งเดิมวัฒนธรรมอันดีของคนไทยย้อนกลับมาปฏิบัติให้เกิดการปฏิบัติตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ รวมทั้ง สร้างความเป็นจิตอาสาพัฒนาชุมชน จนเกิดเครือข่ายที่มีพลังและความสามัคคี สำหรับกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ในวันนี้ประกอบไปด้วยการปลูกต้นไม้ การทำสะพานข้ามคลองไส้ไก่ การศึกษาเรียนรู้และทำกิจกรรม 3 ฐาน คือ ทำจุลินทรีย์หน่อยกล้วย, เผาถ่าน, เผาแกลบ 

          พัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า การเอามื้อสามัคคี เป็นการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง โดยมีการแบ่งหน้าที่วางแผนการเอามื้อสามัคคี เริ่มจากการสร้างความรู้ เตรียมความพร้อมกิจกรรม จากนั้นแบ่งหน้าที่ แบ่งคน แบ่งงาน ภายใต้แนวคิด “คึกคัก คล่องแคล่ว ครื้นเครง” และการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งกิจกรรมเอามื้อสามัคคี เป็นการเรียนรู้ 10 ขั้นตอนตาม หลักกสิกรรมธรรมชาติ เช่น การร่วมกันเอามื้อห่มดิน ทำปุ๋ยชีวภาพ ร่วมกันปลูกหญ้าแฝก การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกป่า 5 ระดับ และได้กล่าวถึงทฤษฎีบันได 9 ขั้น บันไดขั้นที่ 1-4 พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน บันไดขั้นที่ 5-9 คือ เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า บุญและทาน เก็บรักษา ขาย เครือข่าย เป็นแนวทางที่ใช้ลำดับขั้นเพื่อเดินตามไปทีละขั้น ค่อยๆก้าวไปแบบยั่งยืนและมั่นคง

          นายทองยศ  ทะยานรัมย์ เจ้าของแปลงต้นแบบโคกหนองนา กล่าวว่า ตนเห็นความมั่นคงและยั่งยืนในการดำเนินชีวิต จากการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ จึงได้เข้าร่วมโครงการโคกหนองนา และพร้อมที่จะพัฒนาพื้นที่แปลงนี้ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ครัวเรือนต้นแบบ และเชื่อมั่นได้ว่าพื้นที่ 3 ไร่นี้ จะสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร เกิดความพออยู่พอกิน และสร้างความยั่งยืนในการดำเนินชีวิตได้ โดยเฉพาะจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การเลี้ยงปลาไว้กินเอง การมีพืชผลที่กินได้ในพื้นที่ครัวเรือน ปลูกทุกอย่างที่กิน เสมือนมีตู้เย็นอยู่รอบบ้าน ซึ่งไม่ต้องออกนอกบ้าน และลดโอกาสการติดเชื้อโควิด-19 ได้ด้วย
 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความที่น่าสนใจ
บทความยอดนิยม