ปลัดกระทรวงมหาดไทย ติดตามงานพร้อมมอบนโยบายการดำเนินงานของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

ปลัดกระทรวงมหาดไทย ติดตามงานพร้อมมอบนโยบายการดำเนินงานของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
    วันนี้ (28 มี.ค. 67) นายสุทธิพงษ์  จุลเจริญ  ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์  ที่ห้องประชุมพนมรุ้ง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีนายนฤชา  โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ปลัดจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วมประชุมพร้อมนำเสนอผลการนำเนินงาน ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์  อาทิ โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  โครงการหมู่บ้านยั่งยืน โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ การขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคกหนองนา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
    และในโอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์  จุลเจริญ  ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำ ให้ข้าราชการและบุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทยร่วมกันขับเคลื่อนงานนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ โดยเฉพาะการปกป้องและเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทยที่ ต้องดำเนินการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและตอบสนองต่อความคาดหวังและความเชื่อมั่นของประชาชน ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยได้มีการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญหลายประการ ผมจึงขอใช้โอกาสนี้ เน้นย้ำให้ทุกท่านได้ร่วมกันขับเคลื่อนการทำงาน ดังนี้
1.การเตรียมความพร้อมจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขอให้จังหวัดและอำเภอให้ความสำคัญในการดำเนินการจัดงานพระราชพิธีฯ ทั้งการประดับตราสัญลักษณ์ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ส่วนราชการ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสร้างการรับรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวาง เพื่อทำให้งานพระราชพิธีฯ มีความศักดิ์สิทธิ์ เกิดความภาคภูมิใจรวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมด้วย
2. การขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอร่วมกันในการยกระดับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประซาชนโดยสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อน คือ การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ต้องลุกขึ้นมาเป็นผู้นำการสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบบูรณาการ ด้วยหัวใจ ด้วย Passion ลงไปกระตุ้นปลุกเร้าสร้างพลังให้กับทีมงาน ทั้งทีมจังหวัด ทีมอำเภอ ทีมตำบล และทีมหมู่บ้าน ด้วยการพูดคุยหารือทบทวนว่าในรอบปีที่ผ่านมาว่ามีความสำเร็จ มีปัญหาอุปสรรค มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร เพื่อทำให้การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข บังเกิดผลเป็นรูปธรรมได้

3. การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ขอให้จังหวัดและอำเภอ เดินหน้าแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชิญเจ้าหนี้และลูกหนี้มาเข้าสู่กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ โดยให้เจ้าหน้าที่เป็นคนกลาง และจะต้องติดตามผลภายหลังจากการเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประสบความสำเร็จครบทั้งกระบวนการ และเร่งรัดดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ครบทุกกรณีนอกจากนี้ ขอให้จังหวัดตั้งคลินิกหรือทีมจังหวัดที่จะช่วยให้ลูกหนี้นอกระบบได้มีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับดูแลเจ้าหนี้นอกระบบที่มีพฤติการณ์ดี โดยบูรณาการกับคลังจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่เจ้าหนี้นอกระบบได้มาเข้าสู่การปล่อยเงินกู้ในระบบตามกฎหมาย
4. โครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา"  ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอซึ่งเป็นผู้นำในระดับพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่าย ส่งเสริมให้ประชาชนได้น้อมนำแนวพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการสืบสาน รักษา และต่อยอด แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ ด้วยการประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา" โดยให้พี่น้องประชาชนได้มาเรียนรู้ในพื้นที่แปลงโคก หนอง นา จะทำให้ได้มีแนวคิดในการพัฒนาที่จะมาปรับปรุงพื้นที่ของตัวเอง ให้มีความเขียวชอุ่มทั้งปี มีน้ำทั้งปี และสามารถเป็นแหล่งที่ทำให้ตัวเองมีอาหารการกินมีความสุขได้ตลอดทั้งปี
5. การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ขอให้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอให้ความสำคัญกับการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยผู้บริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในฐานะเป็นศูนย์กลางจะต้องมีอุดมการณ์ มี "Passion" และสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกในพื้นที่ที่รับผิดชอบ สร้างทีมในทุกระดับ ผ่านทีมงานภาคีเครือข่ายมีความเอาใจใส่ในการตรวจสุขภาพของสมาชิก ไม่ให้เป็นหนี้สินส้นพ้นตัวจนไม่มีความสามารถในการใช้หนี้ ส่งเสริมการลดรายจ่าย สร้างรายได้ ขยายโอกาสให้คนในครอบครัวและสมาชิกให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความที่น่าสนใจ
บทความยอดนิยม