จังหวัดบุรีรัมย์จัดกิจกรรมรณรงค์ ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวจังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2566

จังหวัดบุรีรัมย์จัดกิจกรรมรณรงค์ ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวจังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2566
    วันนี้ (24 พ.ย. 65) นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดงาน รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ภายใต้แนวคิด “ R-e-s-p-e-c-t สร้างการยอมรับต่อความเท่าเทียม”  ที่ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บุรีรัมย์ โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับสำนักงานอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดบุรีรัมย์  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (One Home) ได้กำหนดจัด เพื่อให้สังคมตระหนักต่อประเด็นปัญหาความรุนแรง และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญ มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว 
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย      การจัดนิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ  และการเดินรณรงค์เชิญชวนประชาชน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ภายในบริเวณห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ไลฟ์ สไตล์ บุรีรัมย์ การแสดง ชุดการแสดง “เก่งและดี To Be Number One” โดย To Be Idol จังหวัดบุรีรัมย์ โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม  การบรรยาย หัวข้อ “สถานการณ์ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว”  “การสร้างการยอมรับต่อความเท่าเทียมกับการยุติความรุนแรงในครอบครัว” และการลงชื่อร่วมต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว และการตอบคำถามลุ้นรับของรางวัล
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์  กล่าวว่า จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ความสำคัญต่อการต่อต้านความรุนแรงในทุกรูปแบบ มีนโยบายเน้นให้เกิดมาตรการทางสังคมในการสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของปัญหา ผลักดันให้เกิดพลังของทุกภาคส่วน จนเป็นกระแสสังคมที่ทุกคนตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหา รวมทั้งการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและปรับทัศนคติของคนในสังคม ภายใต้แนวคิดของปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในการ “สร้างการยอมรับต่อความเท่าเทียม” (R-e-s-p-e-c-t)  ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของทักษะความสัมพันธ์ การเพิ่มขีดความสามารถของเพศหญิงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม  การบริการที่เป็นมิตรแก่สตรี เพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัว การส่งเสริมเศรษฐกิจ เพื่อลดสภาวะการพึ่งพิงจากเพศชาย การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การป้องกันการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน เพื่อตัดวัฏจักรความรุนแรง และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความเชื่อและบรรทัดฐานซึ่งนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อสตรี
 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความที่น่าสนใจ
บทความยอดนิยม