รำตรด/รำตรุษ /เรือมตรษ/มรดกทางวัฒนธรรมของอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

รำตรด/รำตรุษ /เรือมตรษ/มรดกทางวัฒนธรรมของอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้มาตั้งแต่โบราณ

การแต่งกายนิยมให้สวยงามตามประเพณีผู้หญิงนุ่งซิ่นไหม ผู้ชายนุ่งโสร่งหรือโจงกระเบนสีสันสวยงามรวมเป็นคณะเรือมตรด เคลื่อนขบวนร้องรำไปตามหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน

การเล่นเรือมตรด นิยมเล่นเฉพาะเดือนเมษายนของทุกปีเท่านั้น เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการตรากตำทำงานหนักมาเป็นเวลานาน การเรือมตรดนี้จะร้องรำไปตามหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน เมื่อถึงบ้านใครเป็นธรรมเนียมเจ้าของบ้านจะออกมาต้อนรับและมอบจตุปัจจัย เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ให้แก่ผู้เล่นเรือมตรด เพื่อรวบรวมนำไปถวายวัดต่อไป

การเล่นเรือมตรดมีผู้ร้องรำเพลงเป็นต้นบทร้องนำหรือเรียกว่าพ่อเพลงแม่เพลง คนอื่นๆ เป็นผู้ร้องตามหรือเรียกว่าลูกคู่ เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองกันตรึม ๒ ใบ หรือมากกว่านั้น ฉิ่ง ฉาบ ซอ จอกกร็อง ฯลฯ ทั้งที่ทุกครั้งที่มีการแสดงจะต้องมีกลองกันตรึมประกอบเสมอ

เนื้อร้องเรือมตรด เริ่มจากบทขออนุญาตเจ้าของบ้านต่อด้วยบทอื่นๆ ตามที่เห็นสมควรถึงการขอรับบริจาคบทเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว ตอนท้ายเป็นบทให้ศีลให้พรเจ้าของบ้านและบทร้องลาแล้วจึงย้ายคณะเรือมตรดไปยังบ้านอื่นต่อไป


image วิดีโอ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar