กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ 23 โรงพยาบาลนำร่อง จัดทำแนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุผลเพื่อให้เกิดความเหมาะสม คุ้มค่า และเป็นประโยชน์ ลดความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ร่วมกับ 23 โรงพยาบาลนำร่อง จัดทำแนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุผลเพื่อให้เกิดความเหมาะสม คุ้มค่า และเป็นประโยชน์ ลดความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
วันนี้ (18 ม.ค.66) ที่ห้องประชุม  โรงแรมโมเดน่า บาย เฟรเซอร์ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดการสัมมนาโครงการจัดทำแนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุผล (Rational Laboratory Use, RLU) ครั้งที่ 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เพื่อเป็นเวทีรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการนำแนวคิด RLU ไปสู่การประยุกต์ใช้จริงในโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลนำร่องของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเปิดโอกาส ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ให้ข้อเสนอแนะทั้งด้านการบริหารจัดการและด้านวิชาการ ต่อร่างแนวทาง ที่ได้เคยยกร่างเอาไว้เบื้องต้น เติมเต็ม และทำให้แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุผล (RLU)มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 
นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เนื่องจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เป็นส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพ เนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจของบุคลากรทางการแพทย์ในการกำหนดวิธีการดูแลสุขภาพของบุคคล อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า การตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ประมาณ ร้อยละ 20 ถึง 50 อาจไม่เหมาะสม กล่าวคือ ไม่มากเกินความจำเป็น (Over utilization) ก็น้อยเกินไปจนอาจละเลยการตรวจ  ที่จำเป็น (Under utilization) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ จึงได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย ราชวิทยาลัย และตัวแทนโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในทุกภาคของประเทศ สร้างต้นแบบระบบการบริหารจัดการและการสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแนวทางช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ประกอบการตัดสินใจ ทั้งในการคัดกรอง วางแผนดูแลสุขภาพ วินิจฉัย รักษา และติดตามผล โดยมุ่งหวังให้การสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มีความเหมาะสม คุ้มค่า และเป็นประโยชน์มากที่สุด หรือที่เรียกว่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุผล (Rational Laboratory Use, RLU) ซึ่งนอกจากจะเกิดประโยชน์ ในระดับสุขภาพของบุคคลแล้ว ยังส่งผลให้ระบบสุขภาพในภาพรวมสามารถใช้ทรัพยากรทางสุขภาพให้เป็นประโยชน์ แก่ประชาชนหมู่มากได้อย่างเพียงพอ อันจะทำให้ระบบสุขภาพมีความมั่นคงและยั่งยืน
 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความที่น่าสนใจ
บทความยอดนิยม