กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดสัมมนาชิงปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงจากภัยแล้งแบบบูรณาการ ที่จังหวัดบุรีรัมย์

วันนี้( 15 มิ.ย. 65) นายดำรงชัย เนรมิตตกพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางกาจัดการความเสี่ยงจากภัยแล้งแบบบูรณาการ ที่โรงแรมเครสโค อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โดยมี นายสหรัฐ  วงศ์สกุลวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายสัญญ์ธวัชช์  ริ้วเหลือง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์  เข้าร่วมรับฟังและระดมความคิดเห็นแนวทางจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน แบบบูรณาการ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประเมินความเสี่ยงจากภัยแล้งในพื้นที่รับผิดชอบได้


นายดำรงชัย เนรมิตตกพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์  กล่าวว่า  ในห้วง 3-4 ปีที่ผ่านมาจังหวัดบุรีรัมย์ประสบปริมาณฝนตกสะสมน้อยกว่ามาตรฐานมาต่อเนื่อง ทำให้ น้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อการใช้อุปโภค และต้องประสบกับปัญหาภัยหนักสุดเมื่อปี พ.ศ.2563 แหล่งน้ำต้นทุนมีสภาพแห้งขอด  จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการทุกวิถีทางเช่น   สูบผันน้ำมาตามลำมาศ จาก อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา / สูบผันน้ำมาตามลำปะเทีย จากอ่างเก็บน้ำลำจังหันฯ อ.ละหานทราย /สูบรวบรวมน้ำตามลำห้วยต่างๆ หลังฤดูการเก็บเกี่ยว / สูบน้ำจากเหมืองหินของภาคเอกชน ไปใช้เพื่อผลิตน้ำประปา บรรเทาความเดือดร้อนในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอประโคนชัย และอำเภอนางรอง  แต่ก็ยังมีปริมาณไม่เพียงพอ  โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเมืองบุรีรัมย์ ที่ต้องดำเนินการสูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยสวาย  อ.กระสัง ระยะทาง 19 กิโลเมตร ไปผลิตน้ำประปาแทน เนื่องจากอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อ่างเก็บน้ำห้วยตลาดมีสภาพแห้งขอด  แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการใช้   การประปาส่วนภูมิภาคสาขาบุรีรัมย์จำเป็นต้องลดแรงดัน จ่ายน้ำเป็นโซน จ่าย 1 วัน หยุด 2 วัน เพื่อให้ยืดระยะเวลาให้มีน้ำใช้ถึงต้นฤดูฝน  ในส่วนของชลประทานบุรีรัมย์ ได้ก่อสร้างเส้นทางผันน้ำลำปะเทียในช่วงน้ำหลาก ระยะทาง 38 กิโลเมตรไปเติมอ่างฯ  ทำการขุดลอก พื้นที่ท้ายอ่างเพิ่มปริมาณกักเก็บเตรียมรองรับน้ำฝน นอกจากนั้น ยังมีทำเส้นทางน้ำบริเวณภูเขาไฟกระโดง ให้น้ำฝนไหลลงสู่บ่อหินของภาคเอกชนเพื่อเก็บเป็นน้ำดิบสำรอง การประสานขอทำฝนหลวง  ทำการเจาะสำรวจน้ำใต้ดินเพื่อจะนำไปใช้ในการผลิตประปา  และการบวงสรวงขอฝน ซึ่งทำให้จังหวัดบุรีรัมย์สามรถพ้นวิกฤตไปได้
 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความที่น่าสนใจ
บทความยอดนิยม